เมนู

อริยสาวิกาผู้ใด ย่อมเจริญด้วย
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ทั้งสองฝ่าย อริยสาวิกาผู้เช่นนั้น เป็นผู้มี
ศีล เป็นอุบาสิกา ชื่อว่าย่อมยึดถือสาระ
แห่งตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว.

จบทุติยวัฑฒิสูตรที่ 4

5. สากัจฉสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา 5 ประการ


[65] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม 5 ประการเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน
เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ 1 ย่อมเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภ
สมาธิสัมปทาได้ 1 ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้
พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ 1 ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทา
ได้ 1 ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้
พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวินุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา
ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
จบสากัจฉสูตรที่ 5

อรรถกถาสากัจฉสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสากัจฉสูตที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อลํสากจฺโฉ แปลว่า เป็นผู้ควรที่จะสนทนาด้วย. บทว่า
อาคตํ ปญฺหํ คือปัญหาที่ถูกถามแล้ว. บทว่า พฺยากตฺตา โหติ คือเป็น
ผู้แก้ปัญหาได้.
จบอรรถกถาสากัจฉสูตรที่ 5

6. สาชีวสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ร่วมกัน 5 ประการ


[66] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นผู้ควรดำรงชีพร่วมกันของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ 1
ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นใน
กถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ 1 ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และ
เป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ 1 ย่อมเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภ
วิมุตติสัมปทาได้ 1 ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง
และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้ควร
ดำรงชีพร่วมกันของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
จบสาชีวสูตรที่ 6